วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

ครม.ตีกลับยกเว้นภาษีผู้ซื้อบ้านบ้านเอื้ออาทร

เป็นข่าวเมื่อวันที่ วันที่ 2 กันยายน 2552 03:00

นายภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (1 ก.ย.) พิจารณาข้อเสนอของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เรื่องการลดหย่อนค่าจดทะเบียนโอน ค่าจดจำนอง ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนอาคารชุด ให้แก่ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยในโครงการบ้านเอื้ออาทร และการลดหย่อนภาษีตามมาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

อย่างไรก็ตาม ครม.มีมติ "ไม่" เห็นชอบเกี่ยวกับข้อเสนอการยกเว้นกฎกระทรวง สำหรับการจดทะเบียนอาคารชุดบ้านเอื้ออาทรและการลดค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนและนิติกรรมโอนขายบ้านเอื้ออาทร

"ครม.ไม่เห็นชอบกับข้อเสนอใน 2 ข้อแรกที่กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เสนอมา ส่วนประเด็นที่เสนอให้กระทรวงการคลังทบทวนหลักเกณฑ์ และวิธีการลดหย่อนภาษีดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย เพื่อให้ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยจากการเคหะแห่งชาติ (กคช.) ได้รับสิทธิลดหย่อนทางภาษีและยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์ ที่ไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อนจากการเคหะแห่งชาติ (กคช.) จำนวน 3 แสนบาทนั้น กระทรวงการคลังไม่เห็นด้วย เพราะผู้ที่ซื้อบ้านเอื้ออาทรส่วนใหญ่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีแต่อย่างใด” นายภูมินทร์กล่าว

ทั้งนี้ รายละเอียดข้อเสนอที่กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เสนอให้ ครม.พิจารณา ได้แก่ 1.ให้ยกเว้นในกฎกระทรวงสำหรับการจดทะเบียนอาคารชุดของโครงการบ้านเอื้ออาทร 2.ให้ชำระค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนอาคารชุดในอัตราเดิม การลดหย่อนค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนขายหรือจำนองบ้าน พร้อมที่ดิน ห้องชุด สำหรับโครงการบ้านเอื้ออาทรในอัตรา 0.01%

และ 3.ให้กระทรวงการคลังทบทวนหลักเกณฑ์และวิธีการลดหย่อนภาษีดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย เพื่อให้ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยจาก กคช.ได้รับสิทธิลดหย่อนทางภาษีและยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์ ที่ไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อนจากการเคหะแห่งชาติ จำนวน 3 แสนบาท กรณีโอนกรรมสิทธิ์ในปี 2552 ตามมาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

รายงานข่าวระบุ ตั้งแต่ปี 2546-ปัจจุบัน กคช.ได้ทำสัญญาซื้อขายบ้านเอื้ออาทรกับผู้ซื้อแล้ว โดยเป็นการอนุมัติสินเชื่อและมีการส่งมอบอาคารแล้ว 210,393 หน่วย แบ่งเป็นการจ่ายเงินสด 1,573 หน่วย อนุมัติสินเชื่อแล้ว 66,543 หน่วย เป็นการเช่าซื้อโดยตรงกับ กคช.จำนวน 19,108 หน่วย เช่าซื้อกับสหกรณ์ยูเนียนจำนวน 89,051 หน่วย และเป็นการส่งมอบอาคารให้ผู้ได้สิทธิแล้ว 87,109 หน่วย



ที่่มา : เอื้ออาทร

ส.ส.กทม.จี้รัฐบาลลดค่าธรรมเนียมโอนสิทธิ์บ้านเอื้ออาทร

เป็นข่าวเมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2554 19:34

รัฐสภา 29 ก.ย. - นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย แถลงว่า ตามที่มีข้อร้องเรียนจากประชาชนเกี่ยวกับค่าโอนกรรมสิทธิ์บ้านเอื้ออาทรที่ต้องใช้เงินถึง 15,000 บาท จึงได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง โดยที่ประชุมมีความเห็นให้ส่งเรื่องไปยังนายกรัฐมนตรี รมว.มหาดไทย รมว.คลัง และ รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และการเคหะแห่งชาติ เพื่อลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมให้กับประชาชน โดยให้ค่าธรรมเนียมโอนกรรมสิทธิ์ลดลงเหลือร้อยละ 0.01 จากเดิมร้อยละ 2 ของราคาประเมินทุนทรัพย์ หรือประมาณ 8,000 บาท ค่าธรรมเนียมให้จดจำนองจากเดิมร้อยละ 1 ของวงเงินกู้ หรือ 4,000 บาท ควรลดลงให้เหลือร้อยละ 0.01 และค่าจัดทำนิติกรรมสัญญาจำนองของธนาคารจากเดินประมาณ 1,000 บาท ควรลดลงให้เหลือไม่เกิน 300 บาท

ทั้งนี้ ควรขอความร่วมมือจากการเคหะแห่งชาติ ในการชะลอการโอนกรรมสิทธิ์ออกไปก่อนจนกว่าภาครัฐจะมีมติอนุมัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วนการโอนอาคารชุดของการเคหะแห่งชาติ เดิมค่าธรรมเนียมเช่า 10,000-15,000 บาท ที่ประชุมเห็นควรปรับลดเหลือไม่เกิน 5,000 บาท ต่อการเปลี่ยนสิทธิ์การเช่า. -สำนักข่าวไทย

ราคาประเมินค่าโอนสิทธิ์บ้านเอื้ออาทรเท่าไหร่?

ค่าโอนสิทธิ์รวมทั้งหมด 15,257.19 บาท จาก ราคาประเมินที่ 390,000  บาท


  1. เก็บค่าส่วนกลาง 33 ตรม. 250 บ.และ 24 ตรม 192 บ.
  2. ค่าธรรมเนียมการโอนโฉนดห้องชุด 2%ประมาณ 7800 บ
  3. ค่าจดจำนองกับธนาคาร 1% ประมาณ 3900 บ.
  4. ค่าจัดทำนิติกรรมสัญญา ครั้งละ 33 ตรม. 1,000, 24 ตรม. 700
    (เป็นครั้งเพราะว่าหากนัดจำนองแล้วผิดนัดจะต้องเสีย**ค่าจัดทำนิติกรรมสัญญาใหม่)
  5. ค่ากองทุนนิติ สามเดือนของค่าส่วนกลางที่ประเมินไว้ 3x250 เท่ากับ 750 ถ้าห้อง 24ตรม ก็ 3x192 เท่ากับ 576
  6. ค่าส่วนกลางล่วงหน้าอีกสามเดือน 3x 250 เท่ากับ 750
  7. ค่าประกันอัคคีภัย 33 ตรม.1.057.19 บาทและ 24 ตรม. 678.38

กคช.บี้ลูกค้าบ้านเอื้อเร่งโอน เร่งโอนบ้านเอื้ออาทรทั่วประเทศ

การเคหะฯจี้ลูกบ้านเอื้ออาทรหมื่นหน่วย  เร่งโอน-ติดต่อสินเชื่อแบงก์หลังครบ 5 ปี  ภายในสิ้นเดือนมีนาคม 2556 พบติดต่อกลับแค่ 30%   ยอมรับ 70% มีปัญหาขาดสภาพคล่องค่าใช้จ่ายไม่พร้อม –ต่อเติมสิ่งปลูกสร้างผิดไปจากเดิมต้องนับหนึ่งทำสัญญากู้ใหม่ –ติดต่อลูกค้าไม่ได้
นางพรรณสุภา    ยุทธภัณฑ์บริภาร    รองผู้ว่าการ การเคหะแห่งชาติ(กคช.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการโอนกรรมสิทธิ์ลูกบ้านโครงการบ้านเอื้ออาทรครบ 5 ปี นับจากจองและอยู่อาศัยโดยการเคหะฯเป็นผู้ค้ำประกันในฐานะเจ้าของอาคาร อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมาการเคหะฯได้แจ้งให้รับทราบ และให้เดินทางมาโอนกรรมสิทธิ์ทั้งสิ้น 1 หมื่นหน่วยตั้งแต่ปลายปี 2555 ที่ผ่านมา  ล่าสุดมีลูกค้าที่ติดต่อโอนเพียง 30%เท่านั้น ทำให้เป้าหมายที่ตั้งไว้ ไม่สามารถโอนได้ทั้งหมด

  
ได้ให้เวลาลูกค้ากลุ่มดังกล่าวจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2556 เท่านั้นแต่ก็ยังไม่เป็นไปตามเป้า เมื่อครบกำหนดระยะเวลา จากนั้นเดือนเมษายน 2556 จะพิจารณาว่าธนาคารที่ร่วมโครงการจะปล่อยกู้ให้กับลูกบ้านโครงการบ้านเอื้ออาทรโดยใช้แคมเปญอะไรบ้างที่จูงใจการโอน อาทิ ดอกเบี้ยต่ำๆฯลฯ"

สำหรับสาเหตุที่ทำให้การโอนกรรมสิทธิ์ของลูกบ้านที่อยู่มาครบ 5 ปีไม่เป็นไปตามเป้าหมายนั้นมีสาเหตุหลัก 3 ประการคือ
1. ภาวะค่าใช้จ่ายในการโอนของลูกค้าที่ไม่พร้อม
2. ในรายที่ต้องกู้เพิ่มเนื่องจากมีสิ่งปลูกสร้างเพิ่ม ต้องทำเรื่องกู้ใหม่ซึ่งทางธนาคารก็ต้องพิจารณาใหม่ ทำให้ลูกค้าสะดุด และ
3. ลูกค้าของการเคหะฯที่เป็นเจ้าของอาคาร ทั้งแนวราบ และอาคารชุด การเคหะฯไม่สามารถติดต่อลูกค้าไปตามที่อยู่ที่แจ้งไว้ แต่ไม่สามารถติดต่อได้ และไม่มีการติดต่อประสานงานใดๆ กลับมา ทางออกต้องรณรงค์เรื่องการติดต่อเผยแพร่ในลูกค้าให้มากขึ้น

ส่วนการขายยกล็อตโครงการบ้านเอื้ออาทรขณะนี้ ยังไม่มีอะไรเพิ่มเติม เนื่องจากขายให้หน่วยงานราชการ ซึ่งจะต้องพิจารณาขออนุมัติงบประมาณมาซื้อ ส่วนใหญ่ก็ต้องใช้เวลาในการพิจารณา ล่าสุดที่ได้มีการเจรจาเพื่อขายให้กับตำรวจก็ติดเรื่องของการเสนองบประมาณ จึงต้องรอไปก่อน อย่างไรก็ดี ก็ยังมีการเจรจากันอยู่ตลอดเวลา หากลูกค้าสรุปได้เรื่องงบประมาณก็จะดำเนินการต่อทันที
นอกจากนี้ในส่วนของการขายโครงการอาคารสูงจังหวัดสมุทรปราการให้กับทางหน่วยงานท้องถิ่นของจังหวัดขณะนี้ต้องชะลอการเจรจาไว้ก่อน เนื่องจากมีการเลือกตั้งท้องถิ่น ต้องรอผลของการเลือกตั้งออกมาก่อนแล้วจึงจะมีการเจรจาการขายอาคารต่อไป อย่างไรก็ดีคาดว่าภายในสิ้นเดือนมีนาคมนี้จะสามารถรู้ผลของการเลือกตั้งท้องถิ่นแล้วจะทำการเจรจาอีกครั้ง  ส่วนการขายที่ดินเปล่า ของการเคหะแห่งชาติ ในแปลงเล็กๆ  ก็มีลูกค้าให้ความสนใจเข้ามาเจรจาขอซื้ออยู่อย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบันปัญหาและอุปสรรคการขายโครงการบ้านเอื้ออาทร ของการเคหะแห่งชาติ  ในเขตกรุงเทพมหานคร ไม่มีปัญหาเพราะโครงการใน กทม. ขายหมดแล้ว  จะมีปัญหาในย่านปริมณฑลบ้างเล็กน้อย  แต่การเคหะฯก็ปรับแผนมาเป็นการให้เช่าแทน
 จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,831

วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

รับทำสไลด์ประกอบเพลง 500 บาท ราคาถูกมากๆ

 รับทำภาพสไลด์ภาพประกอบเสียงเพลง
 สำหรับงานต่างๆ รับงานด่วนได้ครับ 
 ราคาเพียง 500 บาท ถุกที่ซู๊ดแล้วคร้าบ!!!  


โทร. 086-9099742 (เต้ย)


 วิธีทำงาน 
1. ให้ท่านทำการส่งภาพถ่ายที่ท่านได้คัดเลือกไว้ ถ้าจะให้ดีควรจะเป็นภาพ 4:3 ภาพแนวนอน เหมือนรูปถ่ายขนาด 4x6 หรือภาพดิจิตอลแนวนอนทั่วๆไปได้ครับ ขนาดไม่เกิน 5 ล้าน พิกเซล 
(ให้ทำการ Zip ไฟล์มาด้วยก็จะดีมากครับ)
2. เรียงลำดับภาพก่อนหลัง โดยการตั้งชื่อที่ภาพไล่เรียงตั้งแต่ภาพแรกไปภาพสุดท้าย เช่น 01,02,03,04,05,06,07,08,09....... ตั้งชื่อเรียงต่อๆกันไปตามนี้ อย่าเกิน 40 ภาพครับเพราะจะดูไม่ทัน
3. หาเพลง หรือจะให้เราหาก็ได้ แต่ถ้ามีให้ก็จะทำให้งานทำได้เร็วยิ้งขึ้น
4. ข้อความที่จะแสดงบนภาพสไลด์ หรือข้อความที่จะแสดงระหว่างภาพสไลด์ ให้เขียนระบุชื่อภาพนั้น และช่วงภาพนั้นด้วย เช่น อยากให้มีข้อความ "คิดถึงนะ" อยู่ก่อนรูป ที่ 02,08,25 เป็นต้น  หรือ ถ้าอยากให้มีข้อความบนภาพเช่น "เพื่อนไม่เคยทิ้งกัน" ให้คำนี้อยู่บนภาพที่  10,28 เ็ป็นต้น
* ให้ระบุแนบไฟล์ หรือพิมพ์ลงไปในกล่องข้อความส่งเมล์ได้เลย


 รอรับงานที่ได้สั่งทำ 
หลังจากเราได้ข้อมูลทั้งหมดครบแล้ว นำมาจัดทำตามกระบวนการจนเสร็จสิ้น แล้วนำส่งให้ตรวจผ่านทาง เว็บไซต์ ที่เราจะระบุลิ้งค์สำหรับดูภาพสไลด์ที่เราจัดทำให้ท่านตรวจสอบก่อน ซึ่งทางเราขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ 3 ครั้ง (แก้ได้ 3 ครั้ง ไม่รวมครั้งแรกที่ทำครับ) หากเกินขอครั้งละ 100 นะครับส่วนมากไม่มีใครเกินครับ
ไม่ต้องเป็นห่วง

 การตรวจสอบงาน 
ท่านจะต้องตรวจสอบงานผ่านทาง ลิ้งค์ 4Shared.com หรือ Dailymotion หรือลิ้งค์อื่นๆที่สามารถอัพโหลดภาพเคลื่อนไหวเพื่อให้ท่านตรวจทานความถูกต้องได้ เมื่อตรวจเสร็จเราจะทำการลบลิ้งค์ไฟล์งานนั้นออกทันที

500 บาทเท่านั้น!! ถูกกว่านี้ไม่มีอีกแล้วแว้วๆๆ  



 การส่งมอบงานมีอยู่ 2 ทาง 
1. เราจะทำการอัพโหลดไฟล์งานขึ้นบน Mediafire.com,4shared.com หรืออาจจะเป็นลิ้งค์โหลดที่สะดวก ซึ่ง เราจะกำหนดลิ้งค์ให้แล้วส่งผ่านทางอีเมล์แล้วให้ท่านทำการดาวโหลด ไฟล์งานนั้นลงบนเครื่องคอมของท่านเอง

2. เราจะแปลงไฟล์ใส่ CD หรือ DVD นำส่งท่านผ่านไปรษณีย์หลังจากท่านตรวจสอบงาน และต้องโอนเงินจำนวนทั้งหมดแล้วเท่านั้น(เพิ่มอีก 100 นะครับ)



โทรสอบถามรายละเอียดได้ตลอดเวลาครับ ไม่จำเป็นว่าโทรมาแล้วเราจะต้องทำกับเราครับ
ท่านลองคุยกับเราแล้วเปรียบเทียบหลายๆ ที่ครับว่าที่ใหนท่านทำแล้วคุ้มค่า แล้วมีความสุข
กับงานที่ท่านได้รับ อย่างนี้ถึงจะเป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับเราเช่นกันครับ

ขอบคุณลูกค้าทุกๆท่านที่เราได้ให้โอกาสเรา
***ขออภัยลูกค้าทุกท่านเราไม่มีหน้าร้านนะครับ ทำงานผ่านเน็ตครับ

วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

ความเดือดร้อน ชุมชน เอื้ออาทร กับค่าส่วนกลางแพงเว่อ (ใครได้ ใครเสีย) มีแต่ลูกบ้านที่เสียอย่างเดียว!!!

โวย ! รอบ 2เอื้ออาทร เอื้อใคร !

เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2555 ที่ผ่านมา การเคหะสมุทรปราการจัดประชุมโดยนำตัวแทนแต่ละตึกในโครงการบ้านเอื้ออาทรประชุมชี้แจงเกี่ยวกับการบริหารจัดการบ้านเอื้ออาทรโดยนิติบุคคลอาคารชุด ท่ามกลางเสียงอื้ออึ้งข้อสงสัยจากชาวบ้าน

เมื่อการเคหะแห่งชาติ นำโครงการบ้านเอื้ออาทรในจังหวัดสมุทรปราการทยอยจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลอาคารชุดแล้วเก็บ “ค่าบริหารจัดการ” ห้องชุด 250 บาท /ห้อง/เดือนเดิมภาคประชาชนโดยสหกรณ์บริการจัดการ เก็บค่าขยะ20-25 บาท/เดือนจ่ายค่าน้ำเสียค่าบริการ กคช.(การเคหะแห่งชาติ) เดือนละ 25 บาท รวมประมาณเดือนละ 50 บาท ตอนนี้เป็น 250 บาท แถมค่าขยะต้องจ่ายเหมือนเดิมออกบิลเงินสดให้ ถ้าจ่ายช้า “เจอดอกเบี้ย”

ห้องชุดเอื้ออาทร มีขนาด33 ตารางเมตร มี 80-90 อาคารๆละ45 ห้อง  รวม 3,800 ห้อง 3800 x 250 = 950,000บาท/เดือน บางโครงการเริ่มที่ 300 บาท/ห้อง/เดือน เหมาะสมหรือไม่ แล้วใคร...ได้ประโยชน์ แม้การจดทะเบียนอาคารชุดเป็นเพียงบางส่วน และอยู่อาศัยยังเต็มอาคาร แต่ภาวะเศรษฐกิจแพงทั้งแผ่นดินและการแทรกแซงพลังงานโดยการขูดรีดราคาพลังงานประชาชนทำกำไรให้กลุ่มทุนนอมินี่นักการเมืองถือหุ้นส่งผลกระทบให้ค่าครองชีพดีดตัวไม่พอยาไส้ แม้มีนโยบายประชานิยมแต่เป็นการสร้างหนี้มากขึ้นโดยขาดภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจความต้องการมาก่อนความจำเป็นคือปัจจัยองค์ประกอบ 250ก็เงินคนจนมันกระทบเดือดร้อน จึงต้องโวย!

ฝากนิติบุคคลพิจารณาสงเคราะห์คนจนลดค่าบริหารจัดการลง หรือ แบ่งส่วนค่าบริหารจัดการมาดูแลห้องชุดเพื่อลดภาระผู้เช่าซื้อที่ต้องปรับเปลี่ยนวัสดุครุภัณฑ์สิ่งปลูกสร้างที่เสื่อมสภาพก่อนเข้าอยู่หรือระหว่างอยู่อาศัยเป็นการแสดงความโปร่งใส รับผิดชอบในคุณภาพและมาตรฐานบ้านเอื้ออาทร

ประเด็นนี้ มีคำตอบผสมเสียงบ่นจากชุมชนคือ นิติบุคคลฯรับไม่ไหวค่าใช้จ่ายสูงและไม่มีกรอบเกณฑ์ช่วยเหลือ จึงรับผิดชอบพื้นที่ส่วนกลางความเสียหายภายในบ้านผู้ที่เช่า-ซื้อจ่ายเอง คำถามคือการเช่าซื้อไม่มีเงื่อนเวลารับประกันอุปกรณ์ใดๆใช่หรือไม่ถ้าเสียจ่ายเองหมดแล้วนิติบุคคลกับสหกรณ์บริการแตกต่างกันอย่างไรในมุมที่เป็นประโยชน์ต่อชาวบ้าน นอกจากการบังคับใช้กฎหมายกับชาวบ้านและค่าบริหารจัดการที่แพงขึ้น !

กรณีสัตว์เลี้ยงชาวบ้านที่เข้าประชุมเล่าว่า สุนัข ถ้ากัดคนให้ไปตัดเขี้ยว ถอนฟัน ถ้าเห่าหอนให้เอาไปตัดลิ้น ! หากต่อไปจัดการไม่ได้จะทำที่อยู่ของสัตว์เลี้ยงแล้วเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่ม ส่วนค่าบริหารจัดการเก็บเหมือนเดิม

เสียงสะท้อนชาวบ้านยังบอกอีกว่าเป็นสหกรณ์บริการดีกว่า ! ไม่ต้องเสียเงินเยอะ มีปัญหาพูดคุยกันได้ ขอความร่วมมือดูแลกันเองในตึกในชุมชนได้ฝนตกน้ำไม่ท่วมมีการลอกท่อเสมอ ส่วนการลักขโมยของยังเหมือนเดิม และที่สำคัญไม่เสียความรู้สึกที่ต้องถูกทวงหนี้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็ควรปรับปรุงเรื่องมารยาทด้วย ต้องมีจิตสำนึกให้บริการ ไม่ให้ชาวบ้านมีความรู้สึกเหมือนเสียค่าคุ้มครองโดยไม่ได้อะไรหรือรู้สึกว่าก่อตั้งเพื่อมาเอามากกว่ามาพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในชุมชน

นิติบุคคลไม่ใช่เรื่องใหม่ หลายแห่งต่อสู้กันมายาวนาน ฟ้องร้องกันก็มาก บางแห่งโดนตัดน้ำ ตัดไฟ เพราะนิติบุคคลบังคับใช้ พรบ. อาคารชุด 2522 อย่างเดียว ซึ่งในทางกฎหมายนั้นทำได้ มีบางรายค้างจ่ายหลายเดือน สมควร แต่การบังคับใช้กฎหมายทุกเรื่องของนิติบุคคลก็ต้องระวังไม่ใช่ประกาศมาเพื่อบังคับใช้ต่างๆนาๆ แต่กรรมการนิติบุคคลทำเสียเอง ไม่ได้ เช่น ประกาศห้ามขายของ แต่กรรมการนิติบุคคลให้คนในครอบครัวทำ เป็นต้น

ชาวบ้านจึงต้องระวังการบังคับใช้กฎหมายของนิติบุคคลหลายเรื่อง เช่นเรื่องกรรมสิทธิ์ห้องชุด เรื่องทรัพย์ส่วนกลางบางเรื่องเป็นเจ้าของร่วมเสียค่าส่วนกลางแต่ใช้ไม่ได้ถ้าใช้อาจถูกฟ้องบุกรุก และถ้าไม่จ่ายค่าส่วนกลางจะถูกตัดน้ำ ถ้าต่อน้ำต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบรรจบมาตรวัดน้ำอีกงานแบบนี้นิติบุคคลจัดเต็ม !

และในฐานะที่ชาวบ้านเป็นคนหนึ่งในเจ้าของนิติบุคคล การแต่งตั้งคณะกรรมการนิติบุคคลต้องช่วยกันศึกษา พรบ.การเคหะแห่งชาติ พ.ศ.2537 พรบ.นิติบุคคลอาคารชุด พ.ศ. 2522 จะได้เกิดการยอมรับ ได้ตัวแทนที่ดีขึ้นมาเพื่อดูแลทรัพย์สินส่วนกลาง ตรงวัตถุประสงค์ให้ทำหน้าที่แทนเราได้ แต่ถ้าหากพบในภายหลังว่าโกงสามารถดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาได้  แต่ห้ามกล่าวอ้างเลื่อนลอยเพราะอาจถูกฟ้องกลับได้เช่น ทั้งนี้มีกรณีศึกษาเกี่ยวกับทุจริตอยู่มากเหมือนกัน ดังนั้น มันจะกลายเป็นการอยู่ร่วมกันอย่างระแวงระวัง อีกฝ่ายจะเอา อีกฝ่ายคอยจับผิด ส่วนที่ยังไม่เป็นนิติบุคคลจึงควรคิดให้ดี และการเลือกคนเป็นผู้นำชุมชนหรือกรรมการสหกรณ์ก็ต้องเลือกให้ดี อย่าให้มีการแอบอ้างว่าจัดตั้งโดยการมีส่วนร่วมจากชุมชนเพราะส่วนใหญ่เนื้อในชาวบ้านยังไม่รู้เรื่องนิติบุคคล

         

 ดาวพระศุกร์ http://www.oknation.net/blog/print.php?id=823746